ฉนวนกันความร้อน เป็นวัสดุที่ใช้ในการป้องกันความร้อน ไม่ให้ส่งผ่านจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง และควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารให้เย็นสบายอยู่เสมอ ดังนั้น โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จึงนิยมติดตั้งฉนวน เพื่อลดความร้อน
นอกจากการลดความร้อนแล้ว ฉนวนกันความร้อน ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะลดต้นทุนได้จริงไหม ในบทความนี้ รวบรวมคำตอบที่น่าสนใจมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง เราไปดูกัน

ฉนวนกันความร้อน ลดต้นทุนการผลิตได้อย่างไร
- ประหยัดต้นทุนพลังงาน
ภายในโรงงานอุตสาหกรรม มักจะมีการเปิดใช้งานเครื่องจักร และเครื่องไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา เพราะจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ทันล็อตการผลิต รวมถึงการทำงานในโรงงานส่วนใหญ่ จะมีพนักงานคอยเวียนกะกันตลอด 24 ชั่วโมง
ดังนั้น การติดตั้งฉนวนกันความร้อนบริเวณหลังคาโรงงาน ก็จะช่วยลดการเกิดปัญหาความร้อนสะสมภายในโรงงาน เครื่องจักรไม่ทำงานหนักจนเกินไป เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานได้เหมาะสม ทำให้ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนลดลง
- ลดค่าใช้จ่ายด้านการซ่อมบำรุง
หากเครื่องจักรทำงานหนักจนเกินไป ย่อมส่งผลเสียหลายประการ ทั้งในเรื่องของค่าไฟที่เพิ่มขึ้น และอายุการใช้งานของเครื่องจักรที่สั้นลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องเสียค่าซ่อมบำรุงอยู่เสมอ
อีกทั้งหากไม่รีบดำเนินการเปลี่ยนเครื่องจักรทันที อาจส่งผลกระทบต่อการผลิต ดังนั้น การวางแผนติดตั้งฉนวนกันความร้อนให้กับโรงงาน จะเข้ามาช่วยป้องกันไม่ให้โรงงาน เสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากความเสียหายในอนาคต
- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
โรงงานอุตสาหกรรมที่มีอุณหภูมิสูงจนเกินไป หรือบรรยากาศอบอ้าว ย่อมทำให้พนักงานรู้สึกไม่สบายตัว และเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ทุกเมื่อ ในเฉพาะช่วงฤดูร้อน ซึ่งหากพนักงานรู้สึกอึดอัดจากสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน อาจทำให้พนักงานเบื่อหน่าย และเกิดความผิดพลาดในการทำงานได้อีกด้วย
แชร์ เทคนิคเลือกกันสาด ให้เข้ากับคาเฟ่ริมทะเล

- ปฏิบัติตามหลักกฎหมาย
รู้หรือไม่? กฎหมายแรงงาน ได้มีการระบุข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการปรับ และรักษาคุณภาพอากาศในอาคารให้เหมาะสม เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข และไม่ทำร้ายสุขภาพจนเกินไป ดังนี้
- งานที่ลูกจ้างทำในลักษณะงานเบา ต้องมีมาตรฐานระดับความร้อน ไม่เกินค่าเฉลี่ยอุณหภูมิ wet bulb 34 องศาเซลเซียส
- งานที่ลูกจ้างทำในลักษณะงานปานกลาง ต้องมีมาตรฐานระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ยอุณหภูมิ wet bulb 32 องศาเซลเซียส
- งานที่ลูกจ้างทำในลักษณะงานหนัก ต้องมีมาตรฐานระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ยอุณหภูมิ wet bulb 30 องศาเซลเซียส
นอกจากนี้ ในกรณีที่บริเวณการทำงาน มีระดับความร้อนเกินมาตรฐานที่กำหนด อาจนำไปสู่การตรวจสอบสาเหตุ เมื่อพบว่าสถานประกอบการ ไม่ผ่านมาตรฐานจริง ผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบทางกฎหมายในที่สุด ทั้งนี้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ นายจ้างจะต้องมีมาตรการควบคุม หรือลดภาระงาน และให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มกันความปลอดภัยส่วนบุคคล
ดังนั้น การติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่มีคุณภาพดี และผลิตจากวัสดุที่ไร้สารพิษ จะเข้ามาช่วยรักษาอุณหภูมิภายในโรงงาน ให้ถูกต้องตามที่หลักกฎหมายระบุไว้ ทั้งยังช่วยให้ภาพลักษณ์ของโรงงานดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
- ประหยัดงบประมาณในระยะยาว
เมื่อติดตั้งฉนวนกันความร้อนไปสักระยะแล้ว จะเห็นได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักร ทำงานได้เสถียรมากขึ้น ทั้งยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในทุกไตรมาส จนส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุน ไว้พัฒนาโรงงานในส่วนอื่น ๆ หรือขยับขยายธุรกิจเพิ่มขึ้น
ก็จบกันไปแล้ว กับคำตอบที่ว่าฉนวนกันความร้อน สามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างไร โดยจะเห็นได้ว่าการที่อุณหภูมิภายในโรงงานคงที่ และเย็นสบายอยู่ตลอดเวลา จะช่วยให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข และเครื่องจักรภายในทำงาน ไม่ร้อนจนเกินไป ทำให้ work flow ในการทำงานไหลลื่นอยู่เสมอ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.ampelite.co.th/